New Document

อาคารและสถานที่

 
 
นามเดิม ช่วง โลจายะ
วันเกิด ๒๐ กรกฎาคม พ.ศ.๒๔๔๒ จ.สมุทรปราการ
การศึกษา
ชั้น ป.๑ - ป.๓ เรียนที่ โรงเรียนวัดทรงธรรม ตำบล, อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ
ชั้น ม.๑ - ม.๓ เรียนที่ โรงเรียนมัธยมวิทยาวัดสุทัศน์ พระนครฯ
ชั้น ม.๔ - ม.๘ เรียนที่ โรงเรียนวัดราชบูรณะ( ต่อมาคือ โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย) แผนกภาษาอังกฤษ สอบได้ที่ ๑ ได้รับเกียรตินั่งเรียนที่โต๊ะพระราชทาน ใช้เวลาว่างเรียนดนตรีไทยไปด้วย
ชั้นอุดมศึกษา สอบได้ทุนหลวง ของกระทรวงธรรมการ ได้ทุนไปเรียนชั้นปริญญาตรีวิชาช่าง ที่ประเทศสหปาลีรัฐอเมริกา แต่เนื่องด้วยในระยะนั้นโลกกำลังอยู่ในสถานะสงคราม (สงครามโลกครั้งที่ ๑) การเดินทางที่มีอยู่ คือทางเรือเดินสมุทร ไม่มีความปลอดภัย ปรากฏว่าเรือโดยสารถูกโจมตีอับปางเสมอ ทางราชการจึงให้ผู้ที่จะไปเรียนที่ประเทศสหปาลีรัฐอเมริกาเข้าเรียนที่ประเทศฟิลิปปินส์ สถานศึกษาวิชาช่างตั้งอยู่ในกรุงมนิลา ได้เรียนอยู่ประมาณ ๓ เดือน จึงได้ย้ายไปเข้าเรียนทางวิชาการเกษตรที่คณะเกษตร มหาวิทยาลัยฟิลิปปินส์ ที่เมืองลอสบานโยส มณฑลลากูนา เรียนอยู่ ๒ ปี พ.ศ.๒๔๖๓ สงครามโลกสงบ ทางราชการจึงให้ย้ายจากฟิลิปปินส์ไปเรียนปีที่ ๓-๔ และเรียนต่อชั้นปริญญาโท จนสำเร็จที่มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน สหปาลีรัฐอเมริกา ในปี พ.ศ.๒๔๖๗
การทำงาน
พ.ศ.๒๔๖๐ : ครูฝึกหัดสอนโรงเรียนสวนกุหลาบ
พ.ศ.๒๔๖๑ : ศึกษาวิชาการเกษตรที่ประเทศฟิลิปปินส์ รวม ๒ ปี
พ.ศ.๒๔๖๓-๒๔๖๖ : ศึกษาวิชาการเกษตรชั้นปริญญาตรี และปริญญาโทต่อที่มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน สหรัฐอเมริการวม ๔ ปี
พ.ศ.๒๔๖๗ : อาจารย์ประจำกระทรวงธรรมการ พ.ศ.๒๔๖๘ : อาจารย์โรงเรียนฝึกหัดครูประถมกสิกรรม อ.บางสะพานใหญ่ จ.ประจวบคีรีขันธ์
พ.ศ.๒๔๖๙ : อาจารย์โรงเรียนฝึกหัดครูประถมกสิกรรม ต.ทับกวาง จ. สระบุรี
พ.ศ.๒๔๗๑ : อาจารย์วิทยาศาสตร์ โรงเรียนมัธยมวัดเทพศิรินทร์ พระนครฯ
พ.ศ.๒๔๗๒ : อาจารย์วิทยาศาสตร์ โรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัย (ผู้กำกับคณะ) พระนครฯ
พ.ศ.๒๔๗๓-๒๔๗๕ : ผู้ฝึกสอนวิชากสิกรรมแก่นายทหารชั้นผู้บังคับกองร้อยในกระทรวงกลาโหม และหัวหน้าแผนกกองเสบียงอาหารสัตว์ และเลขานุการ คณะกรรมการปรับปรุงพันธุ์ม้า กองทัพบก
พ.ศ.๒๔๗๖-๒๔๗๑ : หัวหน้าสถานีทดลองกสิกรรม ภาคพายัพ ห้วยแม่โจ้ จ. เชียงใหม่
พ.ศ.๒๔๗๗-๒๔๘๑ : อาจารย์ใหญ่โรงเรียนฝึกหัดครูประถมกสิกรรม ห้วยแม่โจ้ จ. เชียงใหม่ อีกตำแหน่งหนึ่ง
พ.ศ.๒๔๘๑ : ผู้อำนวยการวิทยาลัยเกษตรศาสตร์แม่โจ้ เชียงใหม่ อีกตำแหน่งหนึ่ง
พ.ศ.๒๔๘๑ : ผู้รักษาการในตำแหน่ง อธิบดีกรมเกษตรและการประมง กระทรวงเกษตราธิการ ผู้อำนวยการกองวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรมเกษตรและการประมง
พ.ศ.๒๔๘๑-๒๔๙๑ : อธิบดีกรมเกษตรและกรมประมง กระทรวงเกษตราธิการ
พ.ศ.๒๔๘๖ : คณบดีคณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน
พ.ศ.๒๔๘๘ : ผู้อำนวยการโรงงานยาสูบ กระทรวงการคลังอีกตำแหน่งหนึ่ง
พ.ศ.๒๔๘๙-๒๔๙๑ : รักษาการในตำแหน่ง อธิบดีกรมปศุสัตว์และสัตว์พาหนะอีกตำแหน่งหนึ่ง
พ.ศ.๒๔๙๑ : รัฐมนตรีกระทรวงเกษตราธิการ (ครั้งที่ ๑)
พ.ศ.๒๔๙๒-๒๔๙๔ : รัฐมนตรีกระทรวงเกษตราธิการ (ครั้งที่ ๒)
พ.ศ.๒๔๙๓-๒๔๙๔ : สมาชิกวุฒิสภา
พ.ศ.๒๔๙๓-๒๔๙๔ : นายกสภามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน อีกตำแหน่งหนึ่ง
พ.ศ.๒๔๙๗ : ผู้จัดการบริษัทประกันภัย สากลประกันภัย (ในเครือธนาคารเกษตร) และกรรมการผู้จัดกาใหญ่ธนาคารเกษตร (ธนาคารกรุงไทยปัจจุบัน)
พ.ศ.๒๔๙๙-๒๕๐๒ : ทูตฝ่ายวัฒนธรรม และผู้ดูแลนักเรียนไทย ประจำประเทศสหรัฐอเมริกา
พ.ศ.๒๕๐๓-๒๕๐๔ : ผู้อำนวยการไร่ เอส.อาร์. บางละมุง จังหวัดชลบุรี
พ.ศ.๒๕๐๖ : กรรมการบริหารฯ และผู้อำนวยการวิทยาลัยพาณิชย์ของสมาคมพ่อค้าไทย
พ.ศ.๒๕๑๘-๒๕๒๑ : นายกสภาสถาบันเทคโนโลยีการเกษตร(แม่โจ้) เชียงใหม่
ได้รับแต่งตั้งให้ปฏิบัติราชการกรณีพิเศษ คือ
พ.ศ.๒๔๘๕ ประธานคณะกรรมการส่งเสริมการเกษตรและการค้า (ส.ก.ค.) นายกสมาคมส่งเสริมการเลี้ยงไก่แห่งประเทศไทย กรรมการอุตสาหกรรมโรงงานน้ำตาล และจัดตั้งโรงงาน กรรมการจัดตั้งนิคมสร้างตนเอง กรมประชาสงเคราะห์ กรรมการที่ปรึกษา องค์การทหารผ่านศึก ประธานคณะกรรมการเจรจาซื้อโรงงานยาสูบ ( จากบริษัท บี.เอ.ที )
พ.ศ.๒๔๙๑ หัวหน้าคณะผู้แทนรัฐบาลไทยเข้าร่วมประชุมองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ ณ กรุงวอชิงตัน ประเทศสหรัฐอเมริกา
พ.ศ.๒๔๙๓ กรรมการป้องกันราชอาณาจักร กรรมการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กรรมการองค์การข้าว กระทรวงเศรษฐการ
ได้รับพระราชทาน ยศ และบรรดาศักดิ์
พ.ศ.๒๔๖๘ ได้รับพระราชทานยศ รองอำมาตย์เอก
พ.ศ.๒๔๖๙ ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์ หลวงช่วงเกษตรศิลปการ
พ.ศ.๒๔๗๕ ได้รับพระราชทานยศ อำมาตย์โท และได้เลื่อนบรรดาศักดิ์พระช่วงเกษตรศิลปการ
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
๒๕ ก.พ.๒๔๖๘ เหรียญบรมราชาภิเศกเงิน รัชกาลที่ ๗
๑๑ พ.ค.๒๔๘๐ ตริตราภรณ์ มงกุฎสยาม (ต.ม.)
๒๐ ก.ย.๒๔๘๒ ตริตราภรณ์ ช้างเผือก (ต.ช.)
๒๐ ก.ย.๒๔๘๓ ทวิติยาภรณ์ มงกุฎไทย (ท.ม.)
๓๐ ก.ย.๒๔๘๕ ทวิติยาภรณ์ ช้างเผือก (ท.ช.)
๓๐ ก.ย.๒๔๘๕ เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)
๑๙ ก.ย.๒๔๘๖ ประถมาภรณ์ มงกุฎไทย (ป.ม.)
๑๐ ธ.ค.๒๔๙๒ ประถมาภรณ์ ช้างเผือก (ป.ช.)
๕ ส.ค.๒๔๙๔ มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.) ได้รับและรับพระราชทานเกียรติบัตรฯ เกียรติคุณ และปริญญาบัตร
พ.ศ.๒๔๙๔ ได้รับมอบตรา และสายสะพายชั้นสูงของประเทศสเปญโดยจอมพลฟรังโก ผู้นำประเทศสเปญ เป็นประธานมอบให้
พ.ศ.๒๕๐๖ ได้รับประกาศเกียรติคุณ นิสิตเก่าดีเด่นของมหาวิทยาลัยวิสคอนซิน สหรัฐอเมริกา ได้รับโล่นิสิตเก่าดีเด่น ของสมาคมศิษย์เก่าคณะเกษตร มหาวิทยาลัยฟิลิปปินส์ โดย ฯพณฯ มาก๊อส ประธานาธิบดีเป็นประธานมอบ
พ.ศ.๒๕๐๗ ได้รับพระราชทานปริญญากสิกรรม และสัตวบาลดุษฎีบัณฑิต (กิตติมศักดิ์) จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
พ.ศ.๒๕๒๕ ได้รับพระราชทานปริญญา เทคโนโลยีการเกษตร ดุษฎีบัณฑิต (กิตติมศักดิ์) จากสถาบันเทคโนโลยีการเกษตรแม่โจ้
พ.ศ.๒๕๒๗ ได้รับโล่เกียรติคุณในฐานะได้รับเกียรติให้เป็นนักวิทยาศาสตร์อาวุโสผู้มีผลงานดีเด่นของประเทศไทย โดยสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ มอบให้ในวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ ๑๘ ส.ค.๒๕๒๗
ชีวิตการครองเรือน
ได้สมรสกับ นางสาวสำอางค์ ไรวา มีบุตรและธิดา รวม ๖ คน คือ
๑. คุณชื่นสุข โลจายะ
๒. แพทย์หญิงปานทิพย์ วิริยะพานิช
๓. ศ.ดร.สิรินทร์ พิบูลนิยม
๔. ศ.นายแพทย์สมชาติ โลจายะ
๕. พ.ต.ต.สมชัย โลจายะ
๖. นายชวาล โลจายะ
ผลงาน
๑. เป็นแรงสำคัญที่ต่อสู้ให้การศึกษาทางเกษตรของไทยคงอยู่
๒. ร่วมก่อตั้งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
๓. ออกพระราชบัญญัติควบคุมต้นสัก
๔. สร้างป่าสงวน
๕. ส่งเสริมให้มีการปลูกปอกระเจาะ
๖. นำปลาหมอเทศ จากอินโดนีเซียมาเผยแพร่
๗. ส่งเสริมให้ชาวเชียงใหม่ ปลูกพืชไร่ เช่น ยาสูบ ถั่วเหลือง หอมหัวใหญ่ ขยายพันธุ์ลำใยพันธุ์ดี
๘. ก่อตั้งบริษัทฝ้ายไทยเพื่อตรึงราคาฝ้ายให้เกษตรกร
พระช่วงถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ ๑๐ มกราคม ๒๕๓๑ รวมอายุ ๘๘ ปี ๕ เดือน ๒๑ วัน

ที่มา : หนังสืออนุสาวรีย์บูรพาจารย์ สามเสือแห่งเกษตร หน้า ๑๗-๒๓